เลดี้แห่งชาลอตต์ (วอเทอร์เฮาส์)
เลดี้แห่งชาลอตต์ (วอเทอร์เฮาส์)

เลดี้แห่งชาลอตต์ (วอเทอร์เฮาส์)

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งเลดี้แห่งชาลอตต์ (อังกฤษ: The Lady of Shalott) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอห์น วิลเลียม วอเทอร์เฮาส์ จิตรกรคนสำคัญชาวอังกฤษของกลุ่มพรีราฟาเอลไลท์ ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์เทตในกรุงลอนดอนในสหราชอาณาจักรภาพ "เลดี้แห่งชาลอตต์" ที่เขียนโดยจอห์น วิลเลียม วอเทอร์เฮาส์ในปี ค.ศ. 1888 เป็นภาพที่มาจากฉากหนึ่งจากกวีนิพนธ์ชื่อเดียวกันที่เขียนโดยลอร์ดอัลเฟรด เทนนีสัน[1] ที่เทนนีสันบรรยายถึงการหนีของสตรีสาว (ที่มาจากพื้นฐานอย่างคร่าว ๆ ของเรื่องราวของอีเลนแห่งแอสโทลัท ผู้โหยหาความรักอันสมบูรณ์แบบจากอัศวินเซอร์ลันซล็อต) ผู้พยายามติดตามเซอร์ลันซล็อตไปยังคาเมลอตของกษัตริย์อาเธอร์ วอเทอร์เฮาส์เขียนภาพนี้สามแบบในปี ค.ศ. 1888[2] 1894[3] และ 1916[4]ตามตำนานแล้วเลดี้แห่งชาลอตต์ถูกห้ามไม่ให้มองตรงไปยังความเป็นจริงหรือโลกภายนอก ซึ่งทำให้นางต้องมองโลกจากกระจก และสานสิ่งที่เห็นเป็นพรม เมื่อเห็นหนุ่มสาวที่รักกันเดินเกี่ยวก้อยกันแต่ไกล ๆ ก็ยิ่งทวีความความสิ้นหวังให้แก่เลดี้แห่งชาลอตต์ยิ่งขึ้นไปอีก นางรอเวลาทั้งกลางวันและกลางคือให้ทุกอย่างกลับเป็นปกติอีก วันหนึ่งเลดี้แห่งชาลอตต์มองเห็นเซอร์ลันซล็อตเดินทางผ่านไปในกระจก นางก็หนีโดยเรือระหว่างที่พายุลงในฤดูใบไม้ร่วง ระหว่างที่แล่นเรือไปยังคาเมลอตและไปยังความตายที่จะมาถึงนางก็ร้องเพลงโศก ไม่นานเท่าใดนักอัศวินและเลดี้แห่งคาเมลอต รวมทั้งเซอร์ลันซล็อตก็มาพบร่างของเลดี้แห่งชาลอตต์แข็งเป็นน้ำแข็ง เซอร์ลันซล็อตจึงสวนมนต์ขอพรให้แก่วิญญาณของเลดี้แห่งชาลอตต์ พรมที่นางทอระหว่างที่ถูกจำขังก็ห้อยอยู่ข้างเรือจากตอนที่สี่ของกวีนิพนธ์:"And down the river's dim expanse
Like some bold seer in a trance,
Seeing all his own mischance—
With glassy countenance
Did she look to Camelot.
And at the closing of the day
She loosed the chain, and down she lay;
The broad stream bore her far away,
The Lady of Shalott.[5]กวีนิพนธ์นี้เป็นที่นิยมในบรรดากวีและจิตรกรกลุ่มพรีราฟาเอลไลท์เป็นอันมาก และได้รับการวาดโดยจิตรกรหลายคนที่รวมทั้งดานเต เกเบรียล รอสเซ็ตติ, วิลเลียม มอว์ เอ็กลีย์และวิลเลียม โฮลแมน ฮันท์ ตลอดอาชีพการงานวอเทอร์เฮาส์หมกมุ่นอยู่กับกวีนิพนธ์ของทั้งเทนนีสันและจอห์น คีตส์ และระหว่างปี ค.ศ. 1886 ถึงปี ค.ศ. 1894 วอเทอร์เฮาส์ก็เขียนภาพสามภาพจากกวีนิพนธ์ของทั้งเทนนีสันแม้ว่าจะเป็นภาพและโทนจะมีโครงสร้างของศิลปะพรีราฟาเอลไลท์ หัวใจของภาพและรายละเอียดที่สะท้อนระหว่างใบไม้ของต้นไม้ที่ระน้ำและผมและรอยจีบของเสื้อผ้าและพรมเป็นแนวที่เปลี่ยนไปจากองค์ประกอบที่นำมาจากลักษณะของศิลปะฟื้นฟูคลาสสิก ภาพนี้เป็นภาพพรีราฟาเอลไลท์ตรงที่เป็นภาพที่แสดงความเปราะบางและชะตากรรมของสตรีในภาพที่อาบด้วยแสงยามพลบค่ำ[6] สตรีในภาพมองไปยังกางเขนที่วางอยู่ข้างเทียนสามเล่มที่หัวเรือ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 เทียนมักจะใช้เป็นสัญลักษณ์ของชีวิต[1] แต่ในภาพนี้มีเทียนเพียงเล่มเดียวที่ยังคงจุดสว่างอยู่เฮนรี เทตอุทิศภาพ "เลดี้แห่งชาลอตต์" ให้แก่สาธารณชนในปี ค.ศ. 1894

แหล่งที่มา

WikiPedia: เลดี้แห่งชาลอตต์ (วอเทอร์เฮาส์) http://www.johnwilliamwaterhouse.com/paintings/def... http://www.wga.hu/bio/v/vermeer/biograph.html http://web.archive.org/20041118222222/homepage.mac... http://www.leeds.gov.uk/artgallery/art_pa04.html http://www.tate.org.uk/servlet/ArtistWorks?cgroupi... http://www.tate.org.uk/servlet/ViewWork?cgroupid=-... http://www.tate.org.uk/servlet/ViewWork?workid=159... http://www.tate.org.uk/servlet/ViewWork?workid=159...